คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ความหมายของคอมพิวเฅอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (computer assisted instruction) ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ มากมายเช่น
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคือบทเรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ถูกจัด
กระทำไว้อย่างเป็นระบบมีแบบแผน โดยใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอและจัดการเพื่อให้
ผู้เรียนได้ใช้งานตามความสามารถของตนเองโดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้หรือ
มีประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์มากก่อน (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545,
หน้า 3)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาเพื่อนำมาใช้ใน
การเรียนการสอน โดยมีทั้งใช้เป็นสื่อเสริมการสอนที่มีการใช้สื่ออื่น ๆ
เป็นกิจกรรมหลัก อยู่แล้วเช่น
การใช้เสริมการสอนของครูที่บรรยายในห้องเรียนปกติเป็นต้น
หรือการใช้เป็นสื่อหลักในการเรียนการสอนเช่น การใช้เป็นสื่อการและอบรมต่าง ๆ
ในลักษณะของการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เพื่อเป็นการเสริมหรือทดแทนการเรียนการสอนของครูเป็นต้น (สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์,2546, หน้า 1)
สรุปได้ว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง
สื่อที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการนำเสนอบทเรียนที่ได้มีการจัดลำดับ
เนื้อหาและวิธีการนำเสนออย่างเป็นระบบแก่ผู้เรียน
โดยผู้เรียนจะมีการโต้ตอบโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ในระหว่าง
การเรียนได้
2.รูปแบบของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีการนำเสนอได้หลายรูปแบบด้วยกัน
ได้มีการแบ่งรูปแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยว ชาญ
ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ของ ผู้เรียน
แบ่งออกได้หลายรูปแบบเช่น (สุรเชษฐ์ เวชชพิทักษ์, 2546,
หน้า 3-8)
1. รูปแบบการสอนเนื้อหา (tutorial) บทเรียนในแบบการสอนแบบนี้จะคล้ายกับการเรียนการสอนให้ห้องเรียน
จะมีการให้ข้อมูลพื้นฐานก่อนโดยแบบเนื้อหาความรู้เป็นเนื้อหาย่อย ๆ
มีการทบทวนความรู้เดิม หรือให้ความรู้เพิ่มเติมก่อนที่จะเสนอเนื้อหาใหม่
แก่ผู้เรียนในรูปแบบของข้อความ ภาพเสียง หรือทุกรูปแบบรวมกัน แล้วให้ผู้เรียนตอบ
คำถาม เมื่อถูก แล้วจึงจะสามารถเข้าสู่บทเรียนต่อไป
2. รูปแบบแบบฝึกหัด (drill) บทเรียนแบบฝึกหัดเป็นแบบที่ไม่มีการสอนเนื้อหาความรู้แก่
ผู้เรียนก่อน
แต่จะมีการให้คำถามหรือปัญหาที่ได้มีการรวบรวมหรือตั้งโจทย์ไว้ก่อนแล้วแก่
ผู้เรียน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบบปรนัยหลายตัวเลือก แบบจับคู่ แบบถูก-ผิดเป็นด้น
ถ้าตอบถูกก็จะได้คำถามใหม่จนกว่าจะได้ผลการตอบในระดับที่น่าพอใจ ดังนั้นผู้ฝึกหัด
จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ
มาก่อนในระดับที่ดีอยู่แล้วนิยมใช้กับวิชาเช่น
คณิตศาสตร์ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์การเรียนคำศัพท์และการแปลภาษา
เป็นต้น
3. รูปแบบสถานการณ์จำลอง (simulation) เป็นการสร้างกิจกรรมที่ใกล้เคียงกับ
ความเป็นจริงมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา
โดยให้เห็นภาพได้แก่ทักษะและการเรียนรู้ได้โดยไม่
ต้องเสี่ยงภัยหรือเสียค่าใช้จ่ายมากนัก โดยรูปแบบจะประกอบไปด้วย การเสนอความรู้
ข้อมูล การแนะนำผู้เรียนเกี่ยวกับทักษะการแก่ปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนความชำนาญ
โดยอาจจะใช้เป็นโปรแกรมย่อย ๆ แทรกอยู่ในลักษณะโปรแกรมสาธิต (demonstration)
หรือโปรแกรมทดสอบโดยการสร้างสถานการณ์จำลอง
4. รูปแบบเกมการสอน (game) เป็นการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความอยากเรียนรู้ได้โดยง่าย
สามารถใช้เกมในการสอนและเป็นสื่อที่จะให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้เช่นกัน
ในเรื่องของกฎเกณฑ์ แบบแผนของระบบ กระบวนการ ทัศนคติตลอดจนทักษะต่าง ๆ
และยังเป็นการเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
เพราะผู้เรียนจะด้องตื่นตัวอยู่เสมอ
5. รูปแบบการทดสอบ (test) มิใช่เป็นการใช้เพียงเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ของผู้
เรียนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้สอนมีความรู้สึกเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
เกี่ยวกับการทดสอบได้อีกด้วย เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถให้เรา
สร้างแบบทดสอบที่มีปฎิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้เรียนได้ซึ่งเป็น
เรื่องที่น่าสนุกและน่าสนใจมากกว่า เป็นต้น
สรุปได้ว่าประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้งหลายรูปแบบ
ดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น
ซึ่งแต่ละประเภทก็มีลักษณะและรูปแบบการนำเสนอบทเรียนที่แตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการออกแบบใช้งานกับผู้เรียน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือความพึงพอใจของผู้เรียน
เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิทางการศึกษานั้นเอง
3.ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สำหรับการเรียนการสอน หรือในด้านการศึกษาเป็นที่ยอมรับกันถึงประโยชน์
ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้มากมายดังนี้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อนสามารถใช้เวลานอกเวลา
เรียนในการฝึกฝนทักษะและเพิ่มเติมความรู้เพื่อที่จะปรับปรุงการเรียนของตน ให้ทัน
ผู้เรียนอื่นได้ดังนั้นผู้สอนจึงสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการสอน
ซ่อมเสริม หรือสอนทบทวนการสอนปกติใช้ชั้นเรียนได้
โดยที่ผู้สอนไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการสอนซ้ำกับผู้เรียนที่ตามไม่ทัน
อีกทั้งผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไป ใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา
และสถานที่ซึ่งผู้เรียนสะดวก เช่นที่บ้าน ที่ทำงาน แทน
การเข้าชั้นเรียนปกติและยังเลือกเรียนในเวลาที่ต้องการได้ด้วย
และถ้าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับการออกแบบมาอย่างดีถูกต้องตามหลักการ ออกแบบ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะสามารถจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น ที่จะเรียนและ
สนุกสนานไปกับการเรียน (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541,หน้า
12)
4.คุณค่าทางการศึกษาของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการศึกษาแต่อย่างใด
ได้มีความพยายามในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียนการสอนมานานแล้ว
โดยสาเหตุที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับความนิยมและจะเป็นสื่อการศึกษาที่
สำคัญต่อไปในอนาคต ก็เนื่องมาจากว่าสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถลดปัญหาทางต้านการศึกษาลงได้
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสอนแบบตัวต่อตัวซึ่งในปัจจุบันมีอัตราส่วนระหว่างครู
ต่อนักเรียนที่สูงมาก ครูจึงไม่สามารถดูแลนักเรียนแบบตัวต่อตัวได้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึง เปรียบเสมือนทางเลือกใหม่ ที่จะช่วยทดแทนการสอนในลักษณะนี้ได้
ซึ่งนับว่าเป็น รูปแบบการสอนที่ดีมาก
เนื่องจากรูปแบบดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีการโต้ตอบกับ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ทันที นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถแก้ปัญหาเรื่อง
ภูมิหลังต่างกันของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนย่อมที่จะมีพื้นฐานความรู้ซึ่งแตกต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้ผู้เรียนไต้ศึกษาตามความชอบของตนเอง
โดยการเลือกรูปแบบการเรียนที่เหมาะสมกับตนเองได้หรือปัญหาการขาดแคลนเวลาที่
ผู้สอนมักประสบกับปัญหาการมีเวลาในการทำงานไม่เพียงพอ
ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถช่วยให้ผู้สอนลดเวลาที่ต้องใช้กับนักเรียนได้
โดยให้เรียนด้วยตัวเอง
หรือแม้แต่ปัญหาเรื่องการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญสำหรับสถานศึกษาที่อยู่ห่างไกล
ในชนบทมักจะประสบปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน
ดังนั้นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นทางออกให้ผู้เรียนได้ โดยทำการถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวเป็นสื่อการสอน
หรือสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนจำนวนมาก ๆ
แล้วส่งไปให้ผู้เรียนได้แทนที่จะต้องเดินทางไปเอง อีกทั้งยังได้
คุณภาพที่เหมือนกันในทุกที่ด้วย (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2541, หน้า 13-14)
5.ข้อดีและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนันเป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งนับวันจะมีบทบาทมากขึ้นใน
วงการศึกษาเนื่องจากคุณสมบัติและลักษณะพิเศษ
ที่สามารถเอื้ออำนวยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็เป็นเช่นเดียวกับสื่อประเภทอื่น ๆ
ที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งานดังนี้
ข้อดี จากการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นเทคโนโลยีใหม่
อีกทั้งแนวโน้มที่เครื่องคอมพิวเตอร์และตัวสื่อที่เป็นซอฟท์แวร์มีราคาถูกลง
ผู้เรียนจึงมีโอกาสไค้ใช้มากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นที่จะได้ประสบการณ์ใหม่
เป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนไค้เป็นอย่างดี
อีกทั้งคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ในการแสดงเสียง ภาพ ตลอดจนข้อความที่เคลื่อนไหว
ทำให้มีความเหมือนจริงมากขึ้น โดยที่สื่อชนิดอื่น ๆ เพียงชนิดเดียวไม่สามารถทำได้
การเสนอภาพ เสียงอักษร ในเรื่องต่าง ๆ พร้อมกันบน จอภาพเป็นการใช้มัลติมีเดียที่สร้างเสริมประสบการณ์ได้กว้างขวางครอบคลุมได้
มากกว่าครู
และยังสามารถบันทึกและตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนและแสดงให้เห็นได้ทั้ง
ในรูปของตัวอักษร ภาพ และแผนภูมิ เป็นการประเมินผลของผู้เรียนตลอดเวลา
ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำนายและชี้แนวโน้มของระดับการเรียน
หรือความสามารถของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
ตอบสนองปรัชญาการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล
โดยผู้เรียนช้าก็สามารถเรียนได้หรือผู้เรียนอ่อนก็สามารถลองผิดลองถูกได้ตาม
ความเร็วของแต่ละคน โดยไม่ต้องมีความรู้สึกมีปมด้อยกับเพื่อน
เพราะคอมพิวเตอร์จะสนองตอบรายบุคคลได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรม
และเพิ่มเติมขยายได้อย่างรวดเร็วทำให้สามารถปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยกับ
เหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี ทำให้บทบาทของครูจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการช่วยเหลือ
ผู้เรียนที่เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทบาทของครูจะเปลี่ยนไปทำให้ครูมีเวลาใน
การติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนได้มากขึ้น
อีกทั้งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยสร้างเสริมให้ผู้เรียนมีเหตุผล
และมีความคิดที่เป็น logical เพราะการโต้ตอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ผู้เรียนจะต้องทำอย่างมีขั้นตอน มีระเบียบและเหตุผลพอสมควร
เป็นการฝึกลักษณะนิสัยที่ดีจัดเป็นหลักสูตรที่ซ้อนเร้น โดยที่สามารถ
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนได้
ข้อจำกัด ถึงแม้ว่าราคาเครื่องคอมพิวเตอร์และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องในการ ใช้คอมพิวเตอร์จะถูกลงแล้วก็ตาม แต่การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในสถานศึกษาบางแห่งอาจจะต้องคิดให้รอบคอบเพื่อ
ให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายและค่าดูแลรักษา
โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในปัจจุบันยังมีอยู่น้อยมาก
เมื่อเทียบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในด้านอื่น ๆ
ทำให้ยังไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่าง ๆ อีกทั้งการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีคุณภาพยังต้องอาศัยเวลา
และสติปัญญา ความรู้ ความสามารถในต้านต่าง ๆ มากมาย
ซึ่งนอกจากจะต้องเชี่ยวชาญต้านเนื้อหาแล้ว ยังต้อง มีความรู้ด้านจิตวิทยาการนำเสนอ
การออกแบบภาพ การเขียนโปรแกรมเป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากขึ้น
และเป็นไปไต้ยากที่จะทำไต้สำเร็จในคนเดียว
นอกจากนั้นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึง
มีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
สอนจึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนไต้โดยผู้เรียน
ที่เป็นผู้ใหญ่ บางคนอาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียบตามขั้นตอน
ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในการเรียนได้ (ฤทธิชัย อ่อนมั่ง, 2537, หน้า 8)
และที่สำคัญการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอาจทำให้
การมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนลดลงได้ โดยหันไปมีปฎิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์แทน
ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาอื่นตามมาได้
6.อุปสรรคในการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
จากประสบการณ์ของผู้วิจัยที่ทำงานด้านการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็น
ระยะเวลากว่า 8 ปี
พบว่ามีปั้ญหาอุปสรรคบางประการทำให้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในเมืองไทยไม่
พัฒนาเท่าที่ควรสาเหตุมาจากการลงทุนด้านซอฟต์แวร์(software) การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน้อยมากทั้งทางด้านภาครัฐและเอกชน
เมื่อเทียบกับการลงทุน ด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ (hardware) ที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง
ๆ รวมถึงระบบเครือข่าย
ทำให้ไม่เพียงพอในการพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ให้ได้รูปแบบมีประสิทธิภาพสูงสุด
กับกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งผู้ผลิตสื่อไม่มีความรู้ความเข้าใจ
รวมถึงความชำนาญในการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีคุณภาพได้และผู้เชียว ชาญด้าน
เนื้อหาส่วนใหญ่มีรายได้จากการเดินสายบรรยายตามสถานที่ต่างๆทำให้มีความคิด
ที่ค่อนข้างลบกับการผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพราะกลัวว่าสื่อดังกล่าวจะ
เป็นคู่แข่ง หรือมาทดแทน
อาจทำให้ตนเองลดความสำคัญลงและอาจมีรายได้ลดลงหรือตกงานได้ในที่สุด
จึงไม่สนับสนุนให้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกิดขึ้น
7.สรุปหลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ได้ผลดีหรือไม่
ปัจจัยหนึ่งก็คือตัวสื่อเองด้วยว่าได้ ถูกออกแบบมาอย่างถูกต้องตามหลักวิชา
และตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือเปล่าด้วย ซึ่งสื่อที่ดีควรจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย
เหมาะสมกับความแตกต่างของผู้เรียน มีกิจกรรมที่ผู้เรียนมีปฎิสัมพันธ์กับบทเรียน
เพราะการมีปฎิสัมพันธ์มีส่วนทำให้เกิดการเรียนรู้
ควรสร้างสื่อให้เร้าใจด้วยข้อความ ภาพ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง
ให้เหมาะสมกับเนื้อหาเพื่อจูงใจเมื่อทำถูกเช่น ให้รางวัล คำชม เสียงปรบมือ
ให้คำอธิบายเมื่อทำไม่ถูก มีการ
เสริมแรงจูงใจทั้งทางบวกและทางลบในการใช้สื่อเพื่อให้เป็นแรงกระตุ้น มีการแบ่ง
เนื้อหาเป็นย่อย ๆ เรียงตามลำดับจากง่ายไปสู่ยาก
ถ่ายโอนการเรียนรู้เป็นลำดับอย่างเป็น ระบบระเบียบ เพราะความเป็นระบบ
ระเบียบจะช่วยให้ผู้เรียนจำได้นานและนำไป ปฏิบัติได้ควรออกแบบให้ผลย้อนกลับทันทีเพื่อเป็นการเสริมแรงและสร้างความพึง
พอใจ ให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ ความถนัด สติปัญญา
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันสามารถเรียนรู้ได้ควรมีกิจกรรมที่
ท้าทายเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเห็น พยายามให้มีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ฝึกบ่อย
ๆ และการทำซ้ำ ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนจำได้นานและนำไปปฏิบัติจริงได้
และควรมีบทสรุปอย่างเป็นระบบ เพราะการทำให้เป็นระบบระเบียบทำให้ผู้เรียนจำได้
รวมไปถึงให้มีการประเมินผลให้ผู้เรียนรู้ผลทันทีและสามารถจัดลำดับของผู้
เรียนเพื่อให้เกิดความท้าทายเหมือนเกม